Your happiness matters to us.

< กลับ

5 เคสระดับโลก ฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์เพลง

5 เคสระดับโลก ฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์เพลง

15 February 2019 เปิดอ่าน 4583 ครั้ง

51 แชร์

ข้าแต่ศาลที่เคารพ! 5 เคสฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่โลกยังจำ

ลิขสิทธิ์เพลงคือเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อน โดยเฉพาะเคส ‘ลอกเลียนแบบ’ (หรือก็อปนั่นแหละ)

ซับซ้อนจนบางครั้งการตกลงกันระหว่างคู่กรณีด้วยปากเปล่าอาจไม่พอ ต้องพึ่งบุญบารมีของศาลที่เคารพ ให้ช่วยตัดสินชี้ชัดว่าใครถูกใครผิด

เพราะเชื่อว่านี่คือเรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้าม My Band เลยขอหยิบยกเคสฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ที่โลกยังจำ มาแนะนำไม่มากไม่น้อย สัก 5 เคส

แต่…ถ้าวงดนตรีของคุณใช้บริการแพลตฟอร์มของเรา รับรองว่าไม่ถูกฟ้องร้องเรียกเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์เพลงแน่นอน

เพราะเราครอบคลุมลิขสิทธิ์เพลงกว่า 10 ล้านเพลงและมีลิสต์เพลงให้แบนด์เลือกไปเล่นจากระบบอย่างถูกต้อง วางใจได้!

 

George Harrison VS The Chiffons

เต่าทองผู้เงียบขรึม จอร์จ แฮร์ริสัน ออกซิงเกิลแรกในฐานะศิลปินเดี่ยว ‘My Sweet Lord’ (อัลบั้ม All Things Must Pass) เมื่อปี 1970

แล้วก็ฮิตติดลมบนทันที ครองแชมป์บนชาร์ตทั่วโลกได้รับความนิยมจนกลายเป็นเพลงรักอมตะถึงปัจจุบัน

แต่เพลงดันไปละม้ายคล้าย He’s So Fine ของคณะ The Chiffons ซึ่งปล่อยมาตั้งแต่ปี 1962 ซะนี่! ตามคำกล่าวอ้างของ รอนนี่ แมค นักเขียนเพลงของวง

เป็นเหตุให้ค่ายเพลง Bright Tunes Music เจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนี้ยื่นฟ้องจอร์จ เพื่อเรียกร้องค่าส่วนแบ่งลิขสิทธิ์จาก My Sweet Lord รวมถึงส่วนแบ่งยอดขายอัลบั้ม All Things Must Pass

คดียืดเยื้ออยู่นานหลายปี (นานถึงขนาด The Chiffons ปล่อยเพลง My Sweet Lord ในเวอร์ชั่นตัวเองออกมาระหว่างรอต่อสู้ในชั้นศาล)

สุดท้ายอดีตเต่าทองก็ถูกตัดสินว่าลอกเลียนแบบเพลง He’s So Fine จริง (โดยไม่ตั้งใจ) และต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าเสียหายร่วม 6 แสนเหรียญฯ – อ่วมเลย

 

Vanilla Ice VS Queen & David Bowie

เคสที่แฟนเพลงทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่า ชัดจนไม่รู้จะชัดยังไงแล้ว!
คือไม่ต้องเป็นนักดนตรีหูเทพก็ฟังออกว่า ไลน์เบสในท่อนอินโทรของเพลง Ice Ice Baby ของแรปเปอร์จอมแสบ Vanilla Ice
แทบจะเหมือนไลน์เบสซิกเนเจอร์ของเพลง Under Pressure ของ Queen-เดวิด โบวี่ เด๊ะๆ

ไอซ์บอกแบบขำๆ ว่า มันก็คือการ Sampling (หยิบยืมทำนองเพลงอื่นมาใส่นิดๆหน่อยๆ) นั่นแหละ แล้วเขาก็ดัดแปลงให้มันแตกต่างแล้วนะ
แต่...สองศิลปินร็อครุ่นพี่ดันไม่ขำด้วย เพราะไม่มีการขอหรือซื้อลิขสิทธิ์ไปใช้อย่างถูกทำนองคลองธรรม
สุดท้ายเลยต้องไปสู้ในศาล และไอซ์ก็แพ้คดีอย่างไม่ต้องสงสัย ต้องจ่ายค่าชดเชยและใส่ชื่อ เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่, สมาชิก Queen กับโบวี่ เป็นเครดิตผู้เขียนเพลง
.
แต่ที่เสียไปนั้นก็อาจจะคุ้ม เพราะเพลงของไอซ์ดังกระหึ่ม ฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง ขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ด (เป็นเพลงฮิปฮอปเพลงแรกๆ ที่ทำได้)
เปลี่ยนตัวเองเป็นสตาร์ในพริบตา แม้มันจะไม่จีรังยั่งยืนก็ตาม

 

The Hollies VS Radiohead

เพลงชาติชาวอัลเตอร์อย่าง Creep ของคณะหัววิทยุ Radiohead ก็มิวายเข้าข่ายลอกเลียนกับเขาด้วย
เหตุเกิดหลังทอม ยอร์ก และเพื่อนปล่อยเพลงนี้สู่ตลาดไม่นาน อัลเบิร์ต แฮมมอนด์ (พ่อแท้ๆ ของนายแฮมมอนด์ จูเนียร์ มือกีตาร์ The Strokes) และ ไมค์ เฮเซลวู้ด ก็อ้างว่า Creep เอาคอร์ดและทำนองเพลง The Air That I Breathe ที่เขาทั้งสองช่วยกันเขียน (ก่อนถูกเล่นโดยวง The Hollies ในปี 1974) ไปใช้โดยพลการและผิดกฎหมาย

แฮมมอนด์และเฮเซลวู้ดเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านศาลที่เคารพ และสู้จนชนะคดี ได้รับชื่อเป็นผู้ประพันธ์เพลง Creep ร่วมกับ Radiohead กับค่าส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ในที่สุด

 

แต่ความตลกร้ายและย้อนแย้งเกิดขึ้นเมื่อต้นปีก่อน..
เมื่อชาวหัววิทยุยื่นฟ้องต่อศาลว่า พวกเขาถูกศิลปินสาวอเมริกัน ลาน่า เดล เรย์ ก็อป Creep ในเพลง Get Free แทร็กจากอัลบั้ม Lust For Life ของเธอ

ลาน่าทวิตว่า Radiohead ต้องการส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ 100% เธอต่อเหลือ 40 พวกเขาไม่ยอม จึงต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
ทว่าฝั่งวงอัลเตอร์เนทีฟผู้มาก่อนก็ปฏิเสธว่าพวกเขาแค่ต้องการเครดิตผู้แต่งเพลงเท่านั้น ไม่เคยยื่นขอค่าส่วนแบ่งเป็นเม็ดเงินแต่อย่างใด

 

Tom Petty VS Sam Smith

Stay With Me คือเพลงที่ทำให้หลายคนรู้จักและตกหลุมรักเสียงร้องก้องกังวานราวสวรรค์สร้างของ แซม สมิธ 
เพลงขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตที่อังกฤษ, อันดับ 2 ในบิลบอร์ด ทำยอดขายถล่มทลาย
และยังส่งให้ป็อปสตาร์หน้าใหม่อย่างสมิธเข้าชิง 3 รางวัลแกรมมี่ในปี 2015 (คว้ามาได้ 2 รางวัล)

แต่พระเสาร์ก็เข้ามาแทรกความสำเร็จของเพลง เมื่อทอม เพตตี้ ศิลปินร็อครุ่นใหญ่ได้ยินเข้าแล้วเชื่อว่าท่วงทำนองบางช่วงบางตอนของ
Stay With Me คล้ายเพลง I Won’t Back Down ของเขาจนเข้าข่ายลอก แม้ทั้งสองเพลงจะมีรสชาติทางดนตรีที่ต่างกันสุดขั้วก็เถอะ

เพตตี้นำเรื่องเข้าสู่ชั้นศาล ผ่านการพิจารณาและตัดสิน ผลคือศาลสั่งให้สมิธต้องเจียดส่วนแบ่งรายได้จากยอดขายเพลงดังกล่าว
จำนวน 12.5% ให้ทอม เพตตี้ กับเจฟฟ์ ลินน์ (ผู้ร่วมเขียนของเพตตี้)และใส่ชื่อทั้งสองในเครดิตผู้เขียนเพลงด้วย

สมิธบอกภายหลังว่า เขาไม่เคยฟังของนั้นของเพตตี้มาก่อน แต่พอฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันก็แอบเหมือนจริงๆ (อ้าว)

 

Marvin Gaye VS Ed Sheeran

ป็อปสตาร์ผมแดง เอ็ด ชีแรน อาจจะคิดเสียงดังไปหน่อยตอนแต่งเพลง Thinking Out Loud มันเลยลอยไปเข้าหู เอ็ด ทาวน์เซนด์ ผู้เขียนเพลง Let’s Get It On ให้
มาร์วิน เกย์ เมื่อปี 1973 ซึ่งสะดุดในความละม้ายคล้ายคลึงกันของทั้งสองเพลงจึงตัดสินใจฟ้องว่าชีแรนก็อปเพลงนี้ทันที
เรื่องถูกส่งไปยังศาลของนิวยอร์ก และยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา เลยไม่รู้ว่า..ชีแรนจะแพ้คดีจนต้องจ่ายเงินและใส่ชื่อคนอื่นเข้าไปเป็นผู้แต่งเพลงร่วม
เหมือนที่เคยทำตอนถูกฟ้องร้องเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เพลง Photograph ก่อนหน้าไม่นานหรือเปล่า

 


MY BAND จะทำให้การจองวงดนตรีนั้นง่ายขึ้น มีหลากหลายราคา มีวงดนตรีและศิลปินคุณภาพที่หลากหลายแนวเพลง ทั้งวงดนตรีงานแต่ง วงดนตรีงานเลี้ยง และวงดนตรีงานอีเวนต์ ที่สำคัญยังเพลงที่นำมาโชว์ก็ยังถูกต้องตามลิขลิทธิ์อีกด้วย 

เช็คราคา จองศิลปิน คลิกตรงนี้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร +6695-6416298
"MyBand" มีบัญชี LINE@ แล้ว! 
โปรดเพิ่มเพื่อนจากลิงก์ด้านล่างเพื่อรับข่าวสารที่เป็นประโยชน์


คุณได้ทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

กรุณายืนยันอีเมลของท่าน
ทางเราจะส่งลิ้งยืนยันไปที่อีเมลของคุณ ภายใน 24 ชม.

เสร็จสิ้น

สำเร็จ! คุณได้ทำการลงทะเบียนเรียบร้อย



เสร็จสิ้น

ขอบคุณที่จองศิลปินกับเรา

คุณสามารถตรวจสอบสถานะการจองได้ที่หน้าโปรไฟล์ของคุณ
เสร็จสิ้น